จำหน่ายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด โทร.02-916-3998,086-353-6707,087-700-2829,086-144-003(ฝ่ายขาย)
วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557
แบ่งเทคอนกรีตอย่างไรให้โครงสร้างแข็งแรง : โครงสร้างบ้าน (แข็งแรง) สำคัญ ภาค 5
แบ่งเทคอนกรีตอย่างไรให้โครงสร้างแข็งแรง :
โครงสร้างบ้าน (แข็งแรง) สำคัญ ภาค 5
ครั้งที่แล้วมีการอธิบายเรื่องวิธีการเทคอนกรีตที่ดี และวิธีการหล่อคอนกรีตที่ไม่ให้ติดแบบไปแล้ว และในครั้งนี้จะมาคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการแบ่งเทคอนกรีตแยกส่วนกัน ว่าจะมีผลต่อการยึดติดและทำให้คอนกรีตเสียกำลัง รับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ หรือไม่
เจ้าของบ้านบางคนเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนวิธีการสร้างบ้านของตน แล้วพบว่าการเทหล่อคอนกรีตแต่ละส่วนนั้นเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เช่น หล่อเทคานคอนกรีตทิ้งไว้จนแห้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยมาเทหล่อพื้นทับคานภายหลัง จนเกิดสงสัยว่า ทำไมไม่เทหล่อคอนกรีตทุกส่วนไปทีเดียวพร้อมๆ กันซึ่งน่าจะดูแข็งแรงและเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันได้ดีกว่าการเทแบบแยกส่วนเช่นนี้
คำตอบคือ การเทคอนกรีตทีเดียวพร้อมกันทุกส่วนของบ้านไม่ว่าจะเป็น เสา คาน พื้น นั้น ย่อมดีกว่าการแบ่งเทคอนกรีตแยกส่วนทีละครั้งแน่นอน แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปได้ยากมาก ด้วยข้อจำกัดด้าน ขั้นตอน เวลา จำนวนอุปกรณ์ และจำนวนคน การแบ่งเทคอนกรีตจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปในงานก่อสร้าง เช่น แบ่งเทในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ แบ่งเทเพื่อรองรับการขยายตัวหรือหดตัวของคอนกรีต หรือการแบ่งเทเพื่อลดการแตกร้าว เป็นต้น
โดยทั่วไป การแบ่งเทคอนกรีตมีการคำนวณจุดแบ่งเทและการคำนวณเหล็กเสริมแรงเพื่อรองรับแรงเฉือนบริเวณจุดแบ่งโดยวิศวกรอยู่แล้ว ซึ่งพบได้หลายตำแหน่ง คือ บริเวณจุดรอยต่อต่างๆ ได้แก่ จุดรอยต่อระหว่างตอม่อกับคานคอดิน (คานพื้นชั้นล่าง) จุดรอยต่อหัวเสากับคานชั้นสอง และจุดรอยต่อหัวเสากับคานอะเสรับงานหลังคา จุดรอยต่อของการเทคอนกรีตบริเวณที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับระดับท้องคาน หรือเว้นต่ำลงมากว่าระดับท้องคานไม่เกิน 5 เซนติเมตร (ดูภาพประกอบด้านล่าง) โดยจุดแบ่งเทนี้จะมีการเสริมขนาดของเหล็กและมีระยะทับซ้อนของเหล็กยาวเลยตำแหน่งจุดแบ่งเท เพื่อช่วยยึดรั้งเพื่อให้ไม่คอนกรีตที่แบ่งเทสองครั้งเกิดรอยแยกตามรอยต่อ และในบางกรณียังมีการเทน้ำยาประสานคอนกรีตก่อนเทคอนกรีตใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะอีกด้วย
อีกจุดหนึ่งที่สามารถทำการแบ่งเทคอนกรีตตามหลักทางวิศวกรรมได้ก็คือ ได้คือบริเวณกึ่งกลางคาน (จุดแบ่งกึ่งกลางระหว่างเสาสองต้น) เนื่องจากเป็นจุดที่มีแรงเฉือนกระทำต่อคานน้อยที่สุด (ดูภาพประกอบด้านล่าง) โดยที่รอยแบ่งจะต้องเป็นรอยตรงตั้งฉากกับแนวคาน ควรใช้แผ่นไม้มากั้นขณะหล่อเพื่อไม่ให้จุดหยุดเทเป็นรอยปากฉลาม ซึ่งในเรื่องของความแข็งแรงนั้น เหล็กเสริมแนวนอน (ตามแนวคาน) สามารถรับแรงที่เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อได้แน่นอน แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะ สามารถเสริมเหล็ก 1-2 เส้นที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร ตรงบริเวณรอยต่อ และนำปลายเหล็กไปผูกไว้กับเหล็กปลอก หรือโดยทั่วไปก็เทน้ำยาประสานคอนกรีตบริเวณรอยต่อก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความแข็งแรงได้เช่นกัน
ข้อควรระวังในการแบ่งเทคอนกรีตบริเวณคานที่สำคัญ คือ ไม่ควรหยุดเทคอนกรีตในจุดที่ห่างจากเสาในระยะระหว่าง L/4 ถึง L/3 โดยเด็ดขาด (ดูภาพประกอบด้านล่าง) เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีแรงเฉือนเกิดในหน้าตัดคานคอนกรีต ทำให้เหล็กที่เรานำมาเสริมเพื่อรองรับแรงเฉือนในคานจะต้องรับแรงที่เกิดบริเวณรอยต่อด้วย จึงส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
การแบ่งเทคอนกรีตอีกกรณีที่พบได้ คือการเทคานไม่พร้อมกับพื้น โดยเริ่มจากการเทคานในระดับที่เสมอกับแนวท้องพื้นก่อน หลังจากที่คานแข็งตัวแล้วจึงทำการติดตั้งไม้แบบพื้น ผูกเหล็กเสริมพื้นสอดกับคาน แล้วจึงเทคอนกรีตอีกครั้งหนึ่ง การแบ่งเทคอนกรีตเช่นนี้จะมีประสิทธิภาพและมีความแข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากวิศวกรจะคำนวณเรื่องการรับแรงแบบแบ่งเทไว้แล้ว แต่ก็มีผู้รับเหมาบางรายเลือกที่จะตั้งแบบผูกเหล็กคานและพื้นให้เรียบร้อยก่อนที่จะเทคอนกรีตพร้อมกันทีเดียวเลย วิธีนี้จะทำให้คอนกรีตในพื้นและคานยึดติดกันแน่นหนา และคุณภาพของโครงสร้างที่ได้ก็จะดีขึ้นไปอีกระดับ
การแบ่งเทคอนกรีตโดยเทคานเสร็จเรียบร้อย ก่อนจะเทพื้นในภายหลัง
(ขอขอบคุณภาพต้นฉบับจากwww.rigidbuild.bloggang.com)
การเทคอนกรีตหล่อพื้นและคานไปพร้อมกันในทีเดียว
(ขอขอบคุณภาพต้นฉบับจาก www.selectcon.com)
วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การคำนวณ การใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ว่าต้องใช้กี่คิว
โดยปกติการซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จนั้นจะได้หน่วยเป็นคิว หรือ ลูกบาศก์เมตร
ถ้าท่านจะสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้านเพียงเล็กน้อย
ท่านสามารถคำนวณได้เลยตามหลักการด้านล่าง
หากมีวิศวกรหรือสถาปนิกที่ออกแบบให้ท่านก็จะมีการคำนวนไว้เรียบร้อยแล้ว
ท่านสามารถถามจำนวนที่ต้องการใช้ได้เลย
ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทคาน
ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทเสา
ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทคาน
ปริมาณคอนกรีตที่ต้องใช้
= กว้าง x ลึก x ยาว
= 0.15 x 0.3 x 4
= 0.18 คิว
ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทเสา
ปริมาณคอนกรีตที่ต้องใช้
= กว้าง x ยาว x สูง
= 0.3 x 0.3 x 3
= 0.27 คิว
ตัวอย่างการคำนวณ ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เทพื้น
ปริมาณคอนกรีตที่ต้องใช้
= กว้าง x ยาว x หนา
= 5 x 2 x 0.1
= 1 คิว
คำถามที่ว่า 1คิว เทได้กี่ตารางเมตรนั้น
ตอบ คือ คอนกรีต 1 คิว
-ถ้าเทพื้นหนา 10ซม. เช่นพื้นบ้าน จะเทได้ 10 ตารางเมตร
-ถ้าเทพื้นหนา 15ซม. เช่นเทพื้นลาดจอดรถ จะเทได้ 6.5 ตารางเมตร
-ถ้าเทพื้นหนา 20ซม. เชานเทถนน จะเทได้ 5 ตารางเมตร
ข้อมูลและภาพ จาก
www.cpac.co.th /cpacnew
หมวด สาระน่ารู้ กลุ่มความรู้ทั่วไป
วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557
คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป
คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตึกสูง งานถนน พื้นโรงงาน และลานจอดรถ ที่มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และค่าการพัฒนากำลังที่เหมาะสมต่อการก่อ สร้างโครงสร้างทั่วไป ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวขนาดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
คอนกรีตกันซึม คุณสมบัติ
คอนกรีตชนิดนี้ เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ โดยมีค่าการซึมผ่านของน้ำในระดับต่ำ ตามมาตรฐาน DIN 1048 ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยาประเภทกันซึม ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ เช่นบ่อเก็บน้ำ สระน้ำ อาคารใต้ดิน พื้นดาดฟ้าของอาคาร เป็นต้น มีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน และค่าความยุบตัวของคอนกรีตขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า
ข้อแนะนำ
โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ นอกจากจะใช้คอนกรีตที่ถูกออกแบบสำหรับการต้านทานการซึมผ่านของน้ำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม เช่น ไม่ทำการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างานก่อสร้าง การทำคอนกรีตให้แน่นเพื่อให้คอนกรีตมีความสม่ำเสมอ เป็นเนื้อเดียวกัน และการบ่มคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตมีการพัฒนากำลังอัดได้อย่างสมบูรณ์ ลดความพรุนภายในเนื้อคอนกรีต
คอนกรีต Topping
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และ ค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงาน สำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบให้แตกต่างจากคอนกรีตปกติ โดยออกแบบให้ส่วนผสมมีส่วนละเอียดมากกว่าคอนกรีตปกติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องหินโผล่ที่ผิวหน้าคอนกรีต ในขั้นตอนของการขัดผิวหน้าคอนกรีต หรือออกแบบส่วนผสมโดยใช้หินขนาด 3/8 นิ้ว
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมมา เพื่อใช้กับงานเท Topping โดยรับรองค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนดที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าการยุบตัวสำหรับงานทั่วไป และงานคอนกรีตที่เทด้วยปั๊ม
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
มอร์ตาร์ คอนกรีต
คุณสมบัติ
มอร์ตาร์ เป็นส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ประเภทลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494
ขั้นตอนการทำงาน
มอร์ตาร์ ถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต ที่ไม่ต้องการกำลังอัด หรือ เทหล่อเลี้ยงท่อก่อนการลำเลียงคอนกรีตโดยการใช้ปั๊ม ปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกตามปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสมตั้งแต่ 300 กก. จนถึง 450 กก. ที่ค่าการยุบตัว 5.0-10.0 ซม.
ข้อแนะนำ
หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน สำหรับมอร์ตาร์ที่นำไปใช้ในงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า เมื่อมอร์ตาร์แข็งตัวแล้ว รวมทั้งการบ่มชื้นบริเวณผิวปรับระดับ เพื่อลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าว
คอนกรีตงานเข็มเจาะเล็ก
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดเล็กเนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้ มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบเพื่องานเทเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210 – 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 7.5 - 12.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
คอนกรีตงานเข็มเจาะใหญ่
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดใหญ่ โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยหน่วงการก่อตัว และลดปริมาณน้ำในส่วนผสม ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 4 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื้อคอนกรีตถูกออกแบบมาให้มีค่าความยุบตัวสูง และไม่แยกตัวขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าคอนกรีตปกติ ซึ่งมั่นใจได้ว่าเสาเข็มเจาะใหญ่แต่ละต้นจะมีคุณภาพดีตั้งแต่เริ่มต้นจน กระทั่งจบงาน โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 280– 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 17.5-22.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
คอนกรีตอัดแรง
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ได้ออกแบบให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการกำลังอัดในช่วงต้นสูง ในขณะที่ต้องคงคุณสมบัติที่ดีในด้านอื่น เช่น ค่าการยุบตัว ระยะเวลาการก่อตัว ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสม สารลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสมและหน่วงการก่อตัว หรือสารลดปริมาณน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขึ้นอยู่กับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวที่ต้องการ การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต จะแตกต่างจากคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป เนื่องจากคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง จำเป็นต้องมีการพัฒนากำลังอัดในช่วงอายุ 3-7 วัน ซึ่งสูงกว่าคอนกรีตปกติเพื่อให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสมกับ งานคอนกรีตอัดแรงประเภท Post – tension ที่ต้องการกำลังอัดเพื่อการอัดแรงที่อายุ 3 วัน ที่ค่ากำลังอัด 240 280 และ 320 กก/ตร.ซม. หรือ ที่อายุและค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนด สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีต เพื่อลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว
คอนกรีตแข็งตัวเร็ว
คุณสมบัติ
เป็นคอนกรีตที่ถูกพัฒนามาเพื่องานที่ ต้องการกำลังอัด ที่กำหนดในช่วงระยะสั้น โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้จะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่เร็วกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้คอนกรีตสามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้ดี
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ใช้สำหรับงานซ่อมแซม ผิวถนน ที่ต้องการกำลังอัดสูงในช่วงต้น งานที่ต้องการเปิดหน้างานเร็ว งานหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เป็นต้น โดยทั่วไปคอนกรีตชนิดนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถพัฒนากำลังอัดได้ตามค่าที่ ต้องการภายในระเวลา 8-24 ชั่วโมง
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. หลีกเลี่ยงการเทคอนกรีต ในที่อากาศร้อนจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียค่าการยุบตัวของคอนกรีตอย่างรวดเร็ว และการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำในเนื้อคอนกรีต
3. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
คอนกรีตต้านทานซัลเฟต
คุณสมบัติ
คอนกรีตต้านทานซัลเฟตพัฒนาขึ้นเพื่อ ใช้สำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องทนทานต่อซัลเฟตโดยเฉพาะ โดยอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการคือุ + ออกแบบโดย ใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ต่ำกว่า 0.50 ตามมาตรฐาน ACI 201.2R Durable Concrete เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีต่ำ ุ + เลือกใช้สัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด secondary enttringite และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ อันเป็นผลให้เกิด แมกนีเซียมซิลิเกตไฮเดรท ซึ่งจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหายได้นอกเหนือจากนี้ ยังเลือกใช้วัสดุผสมคอนกรีต ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ASTM C33 กำหนดเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพดี ตามที่ได้ออกแบบไว้
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับสารละลายซัลเฟต เช่น งานบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับดินเค็ม ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานซัลเฟตของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น
คอนกรีตทนน้ำเค็ม
คุณสมบัติ
ในน้ำเค็มจะมีสารประกอบหลักที่สำคัญ คือคลอไรด์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ ดังนั้น ในการออกแบบคอนกรีตทนน้ำเค็ม จึงอาศัยหลักการป้องกันการซึมผ่านของสารครอไรด์ และการจับยึด ไม่ให้คลอไรด์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเป็นสนิม โดยทั่วไป สามารถแบ่งสภาพแวดล้อม การสัมผัสกับบรรยากาศทะเล ของโครงสร้างคอนกรีตได้สี่สภาวะดังนี้ + สภาวะที่ 1 โครงสร้างสัมผัสกับไอทะเล + สภาวะที่ 2 โครงสร้างสัมผัสกับคลื่นชายฝั่ง + สภาวะที่ 3 โครงสร้างอยู่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง + สภาวะที่ 4 โครงสร้างจมอยู่ใต้น้ำทะเล จากสี่สภาวะนี้ สภาวะที่ 2 และ 3 เป็นสภาวะที่คอนกรีตจะเกิดความเสียหายรุนแรงที่สุด ซึ่งลักษณะการเสียหายของคอนกรีตที่สัมผัสกับน้ำเค็ม จะเป็นการเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเป็นสนิมของเหล็กเสริม และเมื่อเหล็กเสริมเป็นสนิม จะเกิดการขยายตัว และทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหาย ดังนั้นในการออกแบบ จึงต้องกำหนดให้มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ต่ำกว่า 0.45 และเลือกใช้วัสดุผสมและสัดส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่า คอนกรีตทนน้ำเค็มมีคุณภาพดีตามที่ได้ออกแบบ นอกจากนี้ ระยะหุ้มเหล็กเสริมสำหรับงานคอนกรีตโครงสร้าง ที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวควรจะไม่น้อยกว่า 7 ซม. ตามข้อกำหนดสำหรับงานออกแบบของวิศวกรรมสถานแห่งชาติ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า โครงสร้างคอนกรีตที่ทำการก่อสร้าง จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับน้ำทะเล หรือ โครงสร้างที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น
คอนกรีตห้องเย็น
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบสำหรับ โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานได้ รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงาน เช่น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น สำหรับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. การเทคอนกรีตประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเทในที่ปิด เพราะคอนกรีตประเภทนี้ ให้ความร้อนในการทำปฏิกิริยาสูง เนื่องจากปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ในส่วนผสมคอนกรีต มีปริมาณสูงกว่าส่วนผสมของคอนกรีตปกติ เพื่อชดเชยในเรื่องของกำลังอัดที่สูญเสียไปเนื่องจากฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต ที่เพิ่มมากขึ้น
4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค http://www.cpacacademy.com/
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตึกสูง งานถนน พื้นโรงงาน และลานจอดรถ ที่มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และค่าการพัฒนากำลังที่เหมาะสมต่อการก่อ สร้างโครงสร้างทั่วไป ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวขนาดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
คอนกรีตกันซึม คุณสมบัติ
คอนกรีตชนิดนี้ เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ โดยมีค่าการซึมผ่านของน้ำในระดับต่ำ ตามมาตรฐาน DIN 1048 ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยาประเภทกันซึม ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ เช่นบ่อเก็บน้ำ สระน้ำ อาคารใต้ดิน พื้นดาดฟ้าของอาคาร เป็นต้น มีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน และค่าความยุบตัวของคอนกรีตขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า
ข้อแนะนำ
โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ นอกจากจะใช้คอนกรีตที่ถูกออกแบบสำหรับการต้านทานการซึมผ่านของน้ำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม เช่น ไม่ทำการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างานก่อสร้าง การทำคอนกรีตให้แน่นเพื่อให้คอนกรีตมีความสม่ำเสมอ เป็นเนื้อเดียวกัน และการบ่มคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตมีการพัฒนากำลังอัดได้อย่างสมบูรณ์ ลดความพรุนภายในเนื้อคอนกรีต
คอนกรีต Topping
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และ ค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงาน สำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบให้แตกต่างจากคอนกรีตปกติ โดยออกแบบให้ส่วนผสมมีส่วนละเอียดมากกว่าคอนกรีตปกติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องหินโผล่ที่ผิวหน้าคอนกรีต ในขั้นตอนของการขัดผิวหน้าคอนกรีต หรือออกแบบส่วนผสมโดยใช้หินขนาด 3/8 นิ้ว
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมมา เพื่อใช้กับงานเท Topping โดยรับรองค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนดที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าการยุบตัวสำหรับงานทั่วไป และงานคอนกรีตที่เทด้วยปั๊ม
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
มอร์ตาร์ คอนกรีต
คุณสมบัติ
มอร์ตาร์ เป็นส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ประเภทลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494
ขั้นตอนการทำงาน
มอร์ตาร์ ถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต ที่ไม่ต้องการกำลังอัด หรือ เทหล่อเลี้ยงท่อก่อนการลำเลียงคอนกรีตโดยการใช้ปั๊ม ปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกตามปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสมตั้งแต่ 300 กก. จนถึง 450 กก. ที่ค่าการยุบตัว 5.0-10.0 ซม.
ข้อแนะนำ
หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน สำหรับมอร์ตาร์ที่นำไปใช้ในงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า เมื่อมอร์ตาร์แข็งตัวแล้ว รวมทั้งการบ่มชื้นบริเวณผิวปรับระดับ เพื่อลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าว
คอนกรีตงานเข็มเจาะเล็ก
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดเล็กเนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้ มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบเพื่องานเทเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210 – 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 7.5 - 12.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
คอนกรีตงานเข็มเจาะใหญ่
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดใหญ่ โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยหน่วงการก่อตัว และลดปริมาณน้ำในส่วนผสม ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 4 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื้อคอนกรีตถูกออกแบบมาให้มีค่าความยุบตัวสูง และไม่แยกตัวขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าคอนกรีตปกติ ซึ่งมั่นใจได้ว่าเสาเข็มเจาะใหญ่แต่ละต้นจะมีคุณภาพดีตั้งแต่เริ่มต้นจน กระทั่งจบงาน โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 280– 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 17.5-22.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
คอนกรีตอัดแรง
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ได้ออกแบบให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการกำลังอัดในช่วงต้นสูง ในขณะที่ต้องคงคุณสมบัติที่ดีในด้านอื่น เช่น ค่าการยุบตัว ระยะเวลาการก่อตัว ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสม สารลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสมและหน่วงการก่อตัว หรือสารลดปริมาณน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขึ้นอยู่กับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวที่ต้องการ การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต จะแตกต่างจากคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป เนื่องจากคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง จำเป็นต้องมีการพัฒนากำลังอัดในช่วงอายุ 3-7 วัน ซึ่งสูงกว่าคอนกรีตปกติเพื่อให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสมกับ งานคอนกรีตอัดแรงประเภท Post – tension ที่ต้องการกำลังอัดเพื่อการอัดแรงที่อายุ 3 วัน ที่ค่ากำลังอัด 240 280 และ 320 กก/ตร.ซม. หรือ ที่อายุและค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนด สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีต เพื่อลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว
คอนกรีตแข็งตัวเร็ว
คุณสมบัติ
เป็นคอนกรีตที่ถูกพัฒนามาเพื่องานที่ ต้องการกำลังอัด ที่กำหนดในช่วงระยะสั้น โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้จะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่เร็วกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้คอนกรีตสามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้ดี
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้ใช้สำหรับงานซ่อมแซม ผิวถนน ที่ต้องการกำลังอัดสูงในช่วงต้น งานที่ต้องการเปิดหน้างานเร็ว งานหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เป็นต้น โดยทั่วไปคอนกรีตชนิดนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถพัฒนากำลังอัดได้ตามค่าที่ ต้องการภายในระเวลา 8-24 ชั่วโมง
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. หลีกเลี่ยงการเทคอนกรีต ในที่อากาศร้อนจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียค่าการยุบตัวของคอนกรีตอย่างรวดเร็ว และการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำในเนื้อคอนกรีต
3. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์
คอนกรีตต้านทานซัลเฟต
คุณสมบัติ
คอนกรีตต้านทานซัลเฟตพัฒนาขึ้นเพื่อ ใช้สำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องทนทานต่อซัลเฟตโดยเฉพาะ โดยอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการคือุ + ออกแบบโดย ใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ต่ำกว่า 0.50 ตามมาตรฐาน ACI 201.2R Durable Concrete เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีต่ำ ุ + เลือกใช้สัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด secondary enttringite และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ อันเป็นผลให้เกิด แมกนีเซียมซิลิเกตไฮเดรท ซึ่งจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหายได้นอกเหนือจากนี้ ยังเลือกใช้วัสดุผสมคอนกรีต ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ASTM C33 กำหนดเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพดี ตามที่ได้ออกแบบไว้
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับสารละลายซัลเฟต เช่น งานบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับดินเค็ม ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานซัลเฟตของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น
คอนกรีตทนน้ำเค็ม
คุณสมบัติ
ในน้ำเค็มจะมีสารประกอบหลักที่สำคัญ คือคลอไรด์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ ดังนั้น ในการออกแบบคอนกรีตทนน้ำเค็ม จึงอาศัยหลักการป้องกันการซึมผ่านของสารครอไรด์ และการจับยึด ไม่ให้คลอไรด์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเป็นสนิม โดยทั่วไป สามารถแบ่งสภาพแวดล้อม การสัมผัสกับบรรยากาศทะเล ของโครงสร้างคอนกรีตได้สี่สภาวะดังนี้ + สภาวะที่ 1 โครงสร้างสัมผัสกับไอทะเล + สภาวะที่ 2 โครงสร้างสัมผัสกับคลื่นชายฝั่ง + สภาวะที่ 3 โครงสร้างอยู่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง + สภาวะที่ 4 โครงสร้างจมอยู่ใต้น้ำทะเล จากสี่สภาวะนี้ สภาวะที่ 2 และ 3 เป็นสภาวะที่คอนกรีตจะเกิดความเสียหายรุนแรงที่สุด ซึ่งลักษณะการเสียหายของคอนกรีตที่สัมผัสกับน้ำเค็ม จะเป็นการเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเป็นสนิมของเหล็กเสริม และเมื่อเหล็กเสริมเป็นสนิม จะเกิดการขยายตัว และทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหาย ดังนั้นในการออกแบบ จึงต้องกำหนดให้มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ต่ำกว่า 0.45 และเลือกใช้วัสดุผสมและสัดส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่า คอนกรีตทนน้ำเค็มมีคุณภาพดีตามที่ได้ออกแบบ นอกจากนี้ ระยะหุ้มเหล็กเสริมสำหรับงานคอนกรีตโครงสร้าง ที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวควรจะไม่น้อยกว่า 7 ซม. ตามข้อกำหนดสำหรับงานออกแบบของวิศวกรรมสถานแห่งชาติ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า โครงสร้างคอนกรีตที่ทำการก่อสร้าง จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับน้ำทะเล หรือ โครงสร้างที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น
3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น
คอนกรีตห้องเย็น
คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบสำหรับ โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานได้ รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงาน เช่น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น สำหรับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. การเทคอนกรีตประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเทในที่ปิด เพราะคอนกรีตประเภทนี้ ให้ความร้อนในการทำปฏิกิริยาสูง เนื่องจากปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ในส่วนผสมคอนกรีต มีปริมาณสูงกว่าส่วนผสมของคอนกรีตปกติ เพื่อชดเชยในเรื่องของกำลังอัดที่สูญเสียไปเนื่องจากฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต ที่เพิ่มมากขึ้น
4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค http://www.cpacacademy.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)